ช็อกโกแลต เบลเยียม
ประวัติแสนอร่อยของ ช็อกโกแลต เบลเยียม
หากจะพูดถึงเรื่องราวความรักของเบลเยียมกับช็อกโกแลต ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1635 ในช่วงที่สเปนเข้ามาครองเมือง ใกล้กับช่วงที่ชาวเมโสอเมริกันนำช็อกโกแลตเข้ามาในยุโรปพอดี ด้วยรสชาติแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีใครได้ลิ้มลอง และรูปลักษณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ จึงทำให้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ช็อกโกแลตได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะของสินค้าหรูหรา ในหมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง จนกระทั่งในปี 1912 เชฟช็อกโกแลตชาวเบลเยียม Jean Neuhaus II ได้สร้างขนมพราลีนขึ้นมา ทำให้ช็อกโกแลต เบลเยียม ชั้นยอดที่เรารู้จักในปัจจุบันได้เริ่มก่อตัวและเป็นที่รู้จักในเวทีโลก
ประเทศเบลเยี่ยมมีพื้นที่เพียง 30,280 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยประมาณ 17 เท่า แต่สามารถส่งออกช็อกโกแลตได้มากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากประเทศเยอรมนีที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 10 เท่า มูลค่าการส่งออกในแต่ละปีมากกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศเล็ก ๆ ในเขตหนาวเย็นแห่งนี้ ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการปลูกโกโก้ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต แล้วอะไรที่ทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกช็อกโกแลตในระดับโลกได้ อีกทั้งเมล็ดของต้นโกโก้นั้น เป็นพืชในเขตร้อน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลางและใต้ ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดในคือในประเทศเม็กซิโกที่เคยเป็นชนพื้นเมืองของจักรวรรดิแอซเท็ก อารยธรรมเก่าแก่ที่ใช้เมล็ดโกโก้แทนเงินในการแลกเปลี่ยนสินค้าเนื่องจากเป็นสิ่งที่หายากและมีเพียงชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะจะนำมาต้มทำเครื่องดื่มบำรุงพละกำลัง เรียกกันว่า Chocolate และกลายมาเป็นสินค้ายอดนิยมมาจวบจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงศตวรรษที่ 15 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจชาวสเปน เดินทางค้นพบทวีปอเมริกา และเข้ายึดครองดินแดนของชาวแอซเท็กเข้าเป็นอาณานิคม สินค้าต่าง ๆ จึงถูกนำกลับประเทศบ้านเกิด ไม่ว่าจะเป็นทองคำ ทองแดง และพืชเขตร้อนต่าง ๆ รวมถึงเมล็ดโกโก้ด้วย ในเวลานั้น เมืองท่าที่สำคัญของสเปน เรียกว่า แฟลนเดอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเบลเยี่ยมในปัจจุบันและนำเครื่องดื่มช็อกโกแลตมาเผยแพร่ ทำให้เบลเยี่ยมมีความผูกพันกับโกโก้มาตั้งแต่นั้น ต่อมาในยุคจักรวรรดินิยม หรือปลายศตวรรษที่ 19 ดินแดนแอฟริกากลายเป็นอาณานิคมและได้มีการนำโกโก้ปลูกและขนส่งกลับยุโรป และเมื่อมีเพิ่มมากขึ้นช็อกโกแลตจึงนิยมโดยทั่วไป ในส่วนของประเทศเบลเยี่ยม ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1830 ในสมัยพระเจ้าลีโอโปลด์ที่ 2 ได้ครอบครองป่าดงดิบขนาดใหญ่ เรียกว่า คอกโกของเบลเยี่ยม ซึ่งสถานที่แห่งนี้อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร มีฝนตกตลอดปี เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นโกโก้ ทำให้มีแหล่งเพาะปลูกเป็นของตัวเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังผลิตได้น้อย และต้องนำเข้าช็อกโกแลตมากที่สุดในยุโรปอีกด้วย แต่เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำจึงเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญนอกจากนี้ยังตั้งอยู่ระหว่างมหาอำนาจ ทำให้ผู้คนปรับตัวได้เก่ง และนำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับมาประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ จนกลายมาเป็นผู้ส่งออกได้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เช่น ในปี ค.ศ. 1857 Jean Neuhaus เภสัชกรต้องการแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย จึงนำช็อกโกแลตมาเคลือบยา ให้กินได้ง่ายขึ้น ต่อมา ปี ค.ศ. 1912 หลานชายของเขาได้ต่อยอดนำไส้มาใส่ตรงกลาง เรียกว่าพราลีน และกลายเป็นร้านช็อกโกแลตแบรนด์ Neuhaus อีก 3 ปีต่อมาได้คิดต้นกล่องสำหรับบรรจุขึ้นเรียกว่า Ballotin และมีการพัฒนาต่อยอดมาอย่างต่อเนื่องทั้งช็อกโกแลตแท่ง ช็อกโกแลตแท้สำหรับแปรรูป เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้นยังได้มีการกำหนดและควบคุมคุณภาพโดยผู้ผลิตกว่า 170 แห่ง รวมตัวกันจัดตั้ง The Royal Belgian Association of the Chocolate, Pralines, Biscuit and Confectionary หรือ Choprabisco ขึ้น หากบริษัทที่สามารถทำได้ตามมาตรฐานนี้จะได้ชื่อว่าเป็นช็อกโกแลตจากประเทศเบลเยี่ยมบนผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากคุณภาพแล้วยังมีการวิจัยและพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยมี University of Ghent ตั้งหน่วยวิจัย Cocao Lab เพื่อพัฒนาวิจัย คัดสรรโกโก้ที่ดีที่สุดออกสู่ตลาดโลก จนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจวบจนปัจจุบัน